“Pearl Candy” ฤามุกน้ำจืดจะเทียบชั้น Hanadama?

Last updated: 9 พ.ย. 2565  |  598 จำนวนผู้เข้าชม  | 

“Pearl Candy” ฤามุกน้ำจืดจะเทียบชั้น Hanadama?

สวัสดีชาว Pakasian Pearl Lovers ทุกท่าน ห่างหายจากคอลัมน์นานาสาระฯ ไปนานครับ เพราะพี่พรายเพิ่งเสร็จจากภารกิจงานใหญ่ประจำปีของ PAKASIA นั่นก็คือการจัดสัมมนาประจำปีให้กับพนักงาน โดยปีนี้มาในกระบวนทัศน์ของ “องค์ความรู้ที่จำเป็นต่อองค์กร” จัดกันใกล้ๆครับ ที่จังหวัดภูเก็ต ในช่วงวันที่ 2-4 มิถุนายนที่ผ่านมานี้เองครับ เดี๋ยวคราวหน้าพี่พรายจะมาเล่าให้ฟังนะครับ ว่าเราทำกิจกรรมอะไรกันบ้าง พูดถึงเรื่องอะไรกันบ้าง แต่วันนี้ขอคุยเรื่องที่พี่พรายติดค้างคุณลูกค้าหลายๆท่านไว้ก่อนนะครับ นั่นก็คือเรื่อง “Pearl Candy” นั่นเองครับ

“Pearl Candy” คืออะไร?
“Pearl Candy” เป็นภาษาทางการขายครับ (Trade Term) สำหรับไข่มุกเลี้ยงสายพันธุ์น้ำจืดคัดเกรด หรือ Freshwater Pearls ที่ใช้ Mantle Tissue เป็นแกนในการเลี้ยง แล้วก็ใช้วิธีการเลี้ยงแบบดั้งเดิม คือหอย 1 ตัว เลี้ยงไข่มุกได้ประมาณ 20-30 เม็ดนั่นเองครับ

แล้ว Pearl Candy แตกต่างจากไข่มุกน้ำจืดแบบดั้งเดิมทั่วไปอย่างไร?
อันที่จริงแล้วคำว่า “Pearl Candy”นั้น ปรากฎอยู่ในบทความทางเว็บไซต์ www.pearlsofjoy.com โดยได้อธิบายว่า “Pearl Candy” นั้นว่าเป็นไข่มุกน้ำจืดคัดเกรดพิเศษ ที่มีเหลือบสีประกายเมทัลลิค (Metallic) รวมทั้ง มี Luster ที่เงาลึกและคมชัด (Sharp and Reflective Luster) ในระดับ Mirror Like Quality เลยทีเดียวครับ โดยความงามและคุณภาพของ Pearl Candy นั้นเทียบได้กับไข่มุก Akoya สายพันธุ์น้ำเค็มเกรด Hanadama ได้เลยครับ ซึ่งที่ความงามและคุณภาพเหล่านี้จะพบเจอในไข่มุกน้ำจืดทั่วไปได้เพียงแค่ 1 ใน 10,000 เม็ดเท่านั้นครับ

กว่าจะมาเป็น “Pearl Candy”
อย่างที่ทราบกันนะครับว่าปริมาณผลผลิตของไข่มุกน้ำจืดที่เลี้ยงด้วยเทคนิคการเลี้ยงแบบดั้งเดิม (Old Freshwater Pearls) และเทคนิคการเลี้ยงแบบสมัยใหม่ (Modern Freshwater Pearls) เช่น Edison Pearl, Ripple Pearl หรือแม้แต่ AK Pearl นั้น มีจำนวนมหาศาลในแต่ละปี และถ้ายิ่งเป็นปริมาณไข่มุกเลี้ยง ที่เลี้ยงด้วยวิธีการแบบดั้งเดิมนั้น มีปริมาณการบริโภคในอัตราส่วนที่สูงถึง 90% ของปริมาณไข่มุกทุกประเภทที่ใช้สอยกันอยู่ทั่วโลกในปัจจุบันนี้ครับ ซึ่งในปริมาณที่มากมายมหาศาลเช่นนี้ การคัดแยกไข่มุกในระดับ “เด็ดยอด” แบบ “Pearl Candy” นั้น จะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่ายครับ ที่ว่ายากก็เพราะว่ามีไข่มุกที่อยู่ระดับคู่แข่ง (Candidates) นั้นมีเยอะมากครับ ต้องใช้ Grader ที่มีความชำนาญสูงและใช้เวลานานในการคัดเกรด แยกแยะ และจำแนกความงามและคุณภาพของไข่มุก ส่วนที่ว่าง่ายนั้น ก็ด้วยปริมาณของไข่มุกที่มากมายอีกนั่นแหละครับ จึงทำให้มีตัวเลือก และตัวเปรียบเทียบเยอะขึ้นไปอีกครับ เหมือนดังคำกล่าวที่ว่า “สวยใน 1,000 หรือจะสู้สวยใน 10,000” นั่นเองครับ

Pearl 7 Value Factors กับ Pearl Candy
เราสามารถระบุคุณลักษณะเด่นของไข่มุกในระดับ Pearl Candy โดยใช้ปัจจัยที่ส่งเสริมมูลค่าของไข่มุกทั้ง 7 ประการ (Pearl 7 Value Factors) เป็นเกณฑ์ ได้ดังนี้ครับ

1. Size (ขนาด) : ขนาดโดยเฉลี่ย 4.0-8.0 mm
2. Color (สี) : White, Peach, Lavender ที่สำคัญคือต้องมี Overtone แบบเมทัลลิค (Metallic)
3. Shape (ทรง) : กลม (Round) (ไข่มุกน้ำจืดที่เลี้ยงด้วยวิธีแบบดั้งเดิมนั้น จะได้ผลผลิตที่เป็นทรงกลมประมาณ 0.01% เท่านั้นครับ)
4. Luster (ความเงาวาว) : ดีเยี่ยม (Excellent or Brilliant)
5. Nacre Quality(คุณภาพของเนเคอร์) : Acceptable (เนื่องจากเลี้ยงโดยไม่ใช้ Bead Nucleus เป็นแกน ไข่มุกจึงประกอบด้วยชั้น Nacre ทั้งเม็ด)
6. Surface Quality (คุณภาพของพื้นผิว): Clean
7. Rarity (ความหายาก): 1 / 10,000 เม็ด

“Pearl Candy” กับสนนราคาที่น่าเก็บ
ด้วยคุณภาพขนาดนี้หลายๆท่านอาจจะคิดว่า Pearl Candy คงเป็นไข่มุกน้ำจืดที่ราคาสุดเอื้อมอีก Series นึงแน่ๆใช่ไหมครับ แต่ช้าก่อนครับ Pearl Candy เองก็มีหลายเกรด หลายคุณภาพ เอาว่ายกให้เป็นการบ้านสำหรับคุณลูกค้าในการตัดสินใจและพิจารณาถึงความคุ้มค่ากับ Money ในกระเป๋าเองจะดีกว่าครับ … ส่วนพี่พรายมีหน้าที่ เชียร์ อย่างเดียวครับ ฮาาา

เอาละครับ หวังว่าสาระน่ารู้ที่พี่พรายนำมาฝากในวันนี้จะถูกใจบรรดา Pearl Lovers ทั้งหลายของ PAKASIA นะครับ ถ้าเห็นว่าบทความนี้ดีมีประโยชน์ ช่วยกด Like กด Share ให้พี่พรายด้วยนะครับ ถ้าท่านมีข้อสงสัยประการใดสอบถามพี่พรายเข้ามาได้นะครับ ตามช่องทางดังนี้ครับ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้